[1]มาตรา ๓๓๗
ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น[2]ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
โดย[3]ใช้กำลังประทุษร้าย
หรือโดย[4]ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือ[5]ของบุคคลที่สาม
จนผู้ถูกข่มขืนใจ[6]ยอมเช่นว่านั้น
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(๑) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ
หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส
หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(๒) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
[1] หลักความแตกต่างระหว่าง
ชิงทรัพย์กับการกรรโชก มีดังนี้
๑.ชิงทรัพย์มีได้เฉพาะสังหาริมทรัพย์ ขณะที่กรรโชกมีได้สังหาและอสังหา ๒.กรรโชกมีเพียงเจตนาธรรมดา ขณะ
ฐานชิงต้องมีเจตนาพิเศษ คือ เจตนาโดยทุจริต ๓.สำคัญมากคือ
ถ้าบังคับให้ผู้ถูกข่มขืนใจส่งทรัพย์สินให้ในเวลาทันทีเป็นชิงทรัพย์
หากไม่ทันทีเป็นกรรโชก ๔.ฐานชิงต้องมีการส่งมอบการครอบครองทรัพย์แล้วจึงจะผิดสำเร็จ
แต่ความผิดฐานกรรโชกเพียงแต่ยอมจะให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแม้จะยังไม่ส่งมอบก็ผิดสำเร็จ
[2] ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
กรณีถือว่าไม่ใช่ได้แก่
การขู่ให้คิดบัญชีการเงินที่จำเลยเข้าหุ้นทำการก่อสร้าง,กรณีใช่
การทำร้ายให้เสียหายให้ลงชื่ในสัญญากู้
[3] การใช้กำลังประทุษร้ายต้องเป็นการกระทำต่อร่างกาย ดังนั้น
การเข้าแย่งกรงนกผู้เสียหายสู้ไม่ได้จำเลยจึงเอานกเขาไปได้
ไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ,
[4] การขู่เข็ญ กรณีไม่เป็นการขู่เข็ญ เช่นการทำนายว่ากำลังมีเคราะห์ให้สะเดาะเคราะห์โดยเสียค่าครู
,เดินเข้ามาในร้านของว่าเป็นพนักงานตำรวจ มาดูแลความเรียบร้อยต้องการเงิน ๕,๐๐๐
บาทเป็นค่าดูแล ผู้เสียหายรู้สึกไม่ปลอดภัยจึงได้ไปโทรศัพท์หลังร้านแต่โทรไม่ติด
จำเลยเดินออกจากร้านไป, หลัก หากเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมายไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก เช่น
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าผู้เสียหายหักสติกเกอร์ของห้างจำเลยไป
จำเลยให้ชำระค่าปรับแก่ห้าง มิฉะนั้นจะส่งให้ตำรวจ
เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคณีกับผู้เสียหายในทางอาญาได้
[5] ถือว่าเป็นบุคคลที่สาม เช่น เขียนจดหมายไปขู่เข็ญให้ผู้เสียหายส่งเงินไป
๓,๐๐๐ บาท มิฉะนั้นบุตรผู้เสียหายจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต
แม้ได้ความว่าบุตรของผู้เสียหายจะบอกให้จำเลยเขียนไปขู่เข็ญโดยหลอกลวงให้บิดาส่งเงินมาให้ถือว่าผู้เสียหายถูกข่มขืนใจ
เพราะในแง่ผู้เสียหายยังคงถือว่าบุตรผู้เสียหายเป็นบุคคลที่สาม
[6] คำว่า “ยอมเช่นว่านั้น”
ดังนั้นความผิดจะสำเร็จต้องได้ความว่าผู้เสียหายยอมจะให้ตามคำขู่
ดังนั้นไม่กลัวแต่ยอมมอบเงินให้เป็นแผนการจับกุมเป็นเพียงพยายาม
,แต่หากตกลงยินยอมแล้วต่อมานำตำรวจมาจับกุมก็เป็นความผิดสำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น