วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ม.๑๗๕

มาตรา ๑๗๕  ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จ[1]ฟ้องผู้อื่นต่อศาล[2]ว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท



[1] ฟ้อง รวมถึงการที่ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการด้วย, และแม้ฟ้องเดิมไม่เท็จแต่ขอแก้ฟ้องให้เท็จก็ผิด,
[2] การกล่าวหาว่าผู้อื่นกระทำความผิด ต้องเป็นฟ้องเท็จในองค์ประกอบความผิด ดังนั้นการฟ้องเท็จเพื่อให้มีอำนาจฟ้องไม่ใช่การกล่าวหาว่าผู้อื่นกระทำความผิดอาญา เช่น เท็จในเรื่องการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแม้จะไม่จริงไม่ผิดเป็นแต่แสดงว่ามีอำนาจฟ้องเท่านั้น ,  ผู้นำเงินไปเช็คไปเข้าบัญชีไม่จริง(ไม่ผิดฟ้องเท็จเพราะไม่ใช่องค์ประกอบความผิด) แต่ผิดเบิกความเท็จเพราะถือว่าเป็นข้อสำคัญในคดี(ผู้นำเช็คไปเข้าบัญชีย่อมเป็นผู้ทรง),การพิจารณาว่าฟ้องเท็จหรือไม่ ต้องพิจารณาจากเนื้อหาแห่งคดีที่บรรยายฟ้องเป็นสำคัญ  ดังนั้นบรรยายฟ้องว่าที่เกิดเหตุเป็นเท็จ หรือคำขอท้ายฟ้องที่อ้างบทลงโทษหนักกว่าที่บรรยาย ไม่ผิดฟ้องเท็จ เช่นฟ้องว่าหมิ่น แต่ระบุสถานที่เท็จและมีคำขอลงโทษแรงกว่าเป็นจริง (ไม่ใช่เนื้อหาแห่งการกระทำความผิด),ความผิดสำเร็จทันที่ยื่นฟ้อง แม้จะถอนระหว่างไต่สวนมูลฟ้องก็ผิด เพราะ๑๗๕,๑๗๖ ไม่ได้บัญญัติว่าการถอนฟ้องก่อนศาลประทับฟ้องจะไม่ผิด แต่เป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ๑๗๖,การฟ้องเท็จคดีแพ่งไม่เป็นความผิดตาม๑๗๕ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติและไม่เป็นการแจ้งความเท็จตาม๑๓๗เพราะการฟ้องไม่เป็นการแจ้งความ และศาลจดก็ไม่ผิด ๒๖๗ เพราะกระบวนพิจารณาไม่ใช่เอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน,ออกเช็คค้ำประกัน แต่นำเช็คไปฟ้องคดีว่าออกชำระหนี้เป็นฟ้องเท็จ ต่อมาเบิกความว่าออกชำระหนี้ผิดถือว่าเป็นข้อสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น